วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

3.3 การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

คุณใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไร

สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือคิดให้ดีก่อนว่าคุณต้องการใช้คอมพ์ทำอะไรบ้าง ลองถามตัวเองว่าคุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ คุณอยากได้คอมพ์ที่มีภาพคมชัดพอๆ กับประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง หรืออยากได้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กก็ไม่ต่างกัน คุณทำงานอะไรและชอบทำอะไรในเวลาว่าง คุณชอบติดตามข่าวสารต่างๆ หรือดูวิดีโอแม้แต่ในเวลาเดินทางรึเปล่า คุณเท่านั้นที่จะตอบคำถามพวกนี้ได้ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร เรามาลองดูคำถามที่มักจะพบบ่อยที่สุดเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับความต้องการของคุณ



แท็บเบล็ต สมาร์ทโฟน เน็ตบุ๊ค หรือ พีซี จะซื้อแค่เครื่องเดียวหรือต้องมีทั้งหมด

แท็บเบ็ลต สมาร์ทโฟน และเน็ตบุ๊ค เป็นทางเลือกที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้ที่ต้องการดูคอนเท้นท์ต่างๆระหว่างเดินทาง หรืออ่านอีเมลบนโซฟาอยู่ที่บ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีเสริมนอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้คุณสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แม้ในเวลาที่คุณไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพ์
 
สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต และเน็ตบุ๊ค มีขนาดเหมาะสำหรับพกพา และได้รับการดีไซน์มาเพื่อตอบสนองการชมสื่อต่างๆ และการสื่อสารของคุณเพียงบางส่วนเท่านั้น  แต่ไม่ใช่สำหรับการสร้างงาน หรือการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะขนาดที่เล็กทำให้ขนาดของจอและสมรรถนะในการประมวลผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นถ้าคุณต้องการถ่ายภาพ ตัดต่อภาพแชร์ภาพและวิดีโอ รวมไปถึงดูซีรี่ส์สุดโปรดบนโซฟาที่บ้าน หรือต้องเขียนอีเมล และเอกสารอื่นๆ อย่างเต็มที่ เครื่องคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด



คุณต้องการประสิทธิภาพของเครื่องแค่ไหน

ซีพียู หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า ชิป หรือ โปรเซสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก ที่มีความสำคัญที่สุดในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้เพราะซีพียูเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องในทุกส่วน หากคุณกำลังมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง คุณจำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของซีพียู ซีพียูจะช่วยรองรับการทำงานของส่วนประกอบชิ้นอื่นๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้ทำงานได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น
 
เมื่อคุณไปที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ อาจจะมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คนขายนำเสนอและอาจจะทำให้คุณสับสนเช่น  แรม กราฟิกการ์ด หรือเมมโมรี่ของเครื่อง แต่เริ่มต้น สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้จักคือซีพียู หรือชิปที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
 
หลายคนอาจชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เช่น อ่านอีเมลไปพร้อมกับดาวน์โหลดเพลงออนไลน์และเข้าเว็บไซต์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ของคุณจึงต้องคิดให้เร็วขึ้นและฉลาดขึ้นเพื่อให้ตรงกับลักษณะการใช้งานของคุณ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นมีคุณสมบัติในการประมวลผลด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัย เช่นเทอร์โบ บูสต์ และ Hyper-Threadingซึ่งช่วยให้คุณทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพที่ฉลาดล้ำ เปรียบได้กับคนที่มีไอคิวสูงที่ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แต่ละครั้ง ถ้าคุณเลือกโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีการทำงานที่ฉลาด และสามารถรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด
 
สิ่งที่ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยครั้งคือ การเลือกซื้อหรือเพิ่มอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ที่มีราคาแพง แต่ไม่ได้คำนึงถึงอุปกรณ์หลักที่จะเป็นสมองสั่งงานของเครื่อง ทำให้ไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่



ความเชื่อผิดๆ ที่มักเกิดขึ้นตอนเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

หลายคนอาจเลือกที่จะเพิ่ม แรม (RAM) หรือความจุของฮาร์ดดิสก์ที่มากขึ้น รวมทั้งซื้อแบตเตอรี่สำรองเพิ่มเติม เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยแลกกับโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานช้าลงโดยหารู้ไม่ว่าเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
 
แรมเป็นส่วนเก็บความจำชั่วคราว ช่วยรองรับการทำงานทั่วไปของเครื่องพีซีซึ่งสำหรับการทำงานทั่วไป แรมขนาด 4 กิกะไบต์จัดว่าเพียงพอแล้ว คุณสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ทั่วๆ ไป เล่นเกมส์ 3 มิติ ตัดต่อไฟล์วิดีโอ เข้าเว็บไซต์ เล่นเพลงจาก iTunesและทำงานเอกสารต่างๆ รวมทั้งส่งอีเมล ได้พร้อมๆ กันอย่างราบรื่น
 
การเพิ่มแรมจาก 4 กิกะไบต์ขึ้นเป็น 6 หรือ 8 กิกะไบต์ จะช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นหากใช้แรม 4 กิกะไบต์เท่าเดิมโดยอัพเกรดโปรเซสเซอร์ให้สูงขึ้น
 
นอกจากเรื่องขนาดของแรมแล้ว อาจมีเพื่อนผู้หวังดี หรือกูรูด้านไอที ที่พูดถึงความเร็วของซีพียู ซึ่งเมื่อก่อนความเร็วของซีพียูที่มีหน่วยวัดเป็นกิกะเฮิร์ตซ์เป็นตัวบ่งบอกถึงความเร็วในการทำงาน
 
แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัยช่วยให้ซีพียูสามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเร่งความเร็ว ด้วยเทคโนโลยีใหม่จาก อินเทล™ เทอร์โบ บูสต์ 2.0 ซึ่งมีอยู่ในซีพียู จะช่วยให้ซีพียูเร่งความเร็วได้ตามที่ต้องการ สามารถทำงานได้เร็วขึ้นในทันทีที่ต้องทำงานหนัก เช่น การประมวลผลไฟล์วิดีโอแบบไฮเดฟินิชั่น, ส่งภาพถ่ายจำนวนมาก หรือเล่นเกมส์ 3 มิติ รวมทั้งเปิดใช้แอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และปรับเข้าสู่การทำงานแบบประหยัดพลังงานในเวลาที่ใช้งานน้อย
 
หากคุณเป็นคนที่ชอบทำหลายอย่างพร้อมกัน เช่น เปิดหน้าต่างทำงานทิ้งไว้กว่า 20 หน้าจนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้าง การมีซีพียูที่มีความเร็วมากขึ้นก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ สิ่งสำคัญคือการเลือกซื้อซีพียูที่มีความสามารถในการช่วยให้คุณทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กันอย่างไม่ติดขัด ซึ่งเทคโนโลยี อย่างเช่น Hyper Threading สามารถตอบโจทย์นี้   
 
ลองจินตนาการถึงเวลาที่คุณจิบน้ำชา คุณสามารถรินน้ำชาได้ทีละแก้ว เทคโนโลยี Hyper Threadingจะใช้งานคอร์หลายตัวในซีพียู โดยส่งพลังงานให้คอร์แต่ละตัวในเครื่องซีพียูสามารถทำงานได้พร้อมกัน เหมือนกับคุณมีกาน้ำชา 2 ปาก เพื่อให้รินน้ำชาได้ทีละหลายแก้ว นอกจากนี้ภายใน อินเทลคอร์โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ตัวล่าสุด เทคโนโลยี Hyper Threadingยังช่วยเพิ่มจำนวน thread ทำให้คุณสามารถทำงานได้มากถึง 8 รายการในเวลาเดียวกันอีกด้วย
    
เมื่อนำเทอร์โบ บูสต์ เทคโนโลยี มารวมกับ เทคโนโลยี Hyper Threadingจะช่วยให้คุณทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่สั้นลง ทำให้คุณไม่ต้องนั่งรอเครื่องทำงาน และจะคุณสามารถประหยัดเวลาได้สูงสุดถึง 4 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว
 
กราฟิกการ์ด ควรใช้แบบรวมอยู่ในชิปหรือแบบแยก

ผู้บริโภครุ่นใหม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดจากการกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นเกมส์ ดูไฟล์วิดีโอจาก วีดีโอ หรือ ยูทูป ชมภาพยนตร์แบบบลูเรย์ ทำให้ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ต้องการรับชมภาพแบบสมจริงและต่อเนื่องโดยไม่สะดุด กราฟิกจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
 
เวลาคุณพิจารณาซื้ออุปกรณ์เสริมสำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวเลือกที่มีคือ กราฟิกชิปแบบที่รวมอยู่ในซีพียู หรือแบบแยก ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ผสานกราฟฟิกชิปรวมในซีพียู จะทำให้คุณสามารถรับชมภาพที่ดียิ่งขึ้น  
 
คุณสมบัติในการรับชมภาพจาก Intel® HD Graphicซึ่งรวมอยู่ใน อินเทลคอร์™ ไอ 3, อินเทล  คอร์™ไอ 5 และอินเทลคอร์™ไอ7 โปรเซสเซอร์ จะตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเพื่อความบันเทิง ด้วยภาพคมชัดและต่อเนื่อง ไม่ว่าเวลาที่คุณเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือ ดูภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปกติ สิ่งที่คุณเห็นจะดูตื่นตาตื่นใจ และเล่นโดยไม่มีสะดุดหรือติดขัด
 
เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การใช้กราฟิกสูงๆ กับซีพียูรุ่นเริ่มต้น ถือเป็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อย เพราะซีพียูรุ่นเริ่มต้นๆ ยังจะคงจะมีการทำงานที่ติดขัด การจับคู่ดังกล่าวจึงไม่ช่วยให้คุณได้ประสิทธิภาพของกราฟิกอย่างเต็มที่
 
คุณไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับกราฟิกการด์แบบแยกรุ่นไฮเอนด์ เพื่อใช้ตัดต่อ และแชร์วิดีโอออนไลน์ หรือเข้าดูสื่อมัลติมีเดียบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่นFacebookหรือ เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี Intel® Quick Sync Video จะช่วยย่นระยะเวลาในการตัดต่อและแชร์วิดีโอ รวมไปถึงสตรีมคอนเท้นท์ไปยังอุปกรณ์อื่น จึงเหมาะสำหรับคนที่ชอบฟังเพลง หรือดูหนังเวลาระหว่างเดินทางเป็นอย่างยิ่ง
 
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา กราฟิกการด์แบบแยกจะใช้เพื่อส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังหน้าจอทีวี ซึ่งในบางครั้งต้องใช้สายเคเบิ้ลเข้ามาเสริม แต่ด้วย Intel® Wireless Displayซึ่งรวมอยู่ในซีพียู อินเทล™ คอร์ ™ โปรเซสเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เพราะคุณสามารถต่ออินเตอร์เน็ตจากโน้ตบุ๊กสู่โทรทัศน์ได้ คุณสามารถนั่งรวมกันหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ที่บ้านพร้อมเพลิดเพลินไปกับการดูบลูเรย์ และภาพยนตร์ 3 มิติ ที่มีความคมชัดระดับ 1080pจากห้องนั่งเล่นที่บ้านของคุณ
 
ถ้าคุณเป็นคนชอบเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือใช้แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือแอพพลิเคชั่นอื่นที่เน้นการใช้กราฟิกดีไซน์ระดับสูง หรือเน้นการตัดต่อวิดีโอแบบมืออาชีพ คุณจะไม่ได้รับชมภาพ 3มิติอย่างเต็มที่ตามต้องการ หากซื้อกราฟิกการด์แบบแยกราคแพงแต่ไม่ซื้อซีพียูที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง



จะเลือกซื้อรุ่นไหนดี

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ในขณะที่เราลงทุนกับบ้านและรถ คอมพิวเตอร์มีความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยคอมพิวเตอร์กำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการทำงานหลายอย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเพื่อความบันเทิงดังนั้นการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงควรมีการศึกษาให้เข้าใจจนสามารถเลือกได้เหมาะกับกิจกรรมต่างๆ และได้ประสิทธิภาพที่ตรงใจคุณ โดยเริ่มต้นที่การเลือกซีพียูที่เหมาะสมกับการทำงาน และควรเลือกเทคโนโลยีใหม่ที่สุดที่มีในขณะนั้นเพราะคุณจะใช้งานไปได้อีกนาน ถ้าคุณเลือกเทคโนโลยีที่เก่าจะทำให้คุณต้องเปลี่ยนเครื่องเร็วขึ้นเพราะซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด  และอย่าลืมว่าการอัพเกรดส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

3.2 การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

1. การต่อระบบไฟและสายเมาส์-คีย์บอร์ด
               การต่อสาย Power ด้านหลังควรจะเสียบให้แน่น ๆ  ส่วนสายเมาท์กับคีย์บอร์ดอย่าใส่สลับกัน  ถ้าใส่สลับกับคีย์บอร์ดอาจจะไม่ติดเลยก็ได้ครับ
              จากนั้นก็ใส่สายจอภาพและสายลำโพงได้ตามลำดับ  เท่านี้ก็เท่ากับเรียบร้อยจากนั้นก็ลองเปิดเครื่องทดสอบกันเลยละกันว่าจะออกมาในลักษณะอย่างไรแต่คงไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับถ้าได้ปฏิบัติตามที่ผมได้พูดมาทั้งหมดก็เรียบร้อยถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาตอนเปิดเครื่องอย่าตกใจครับ ลองเริ่มต้นตรวจเช็คดูให้ดีๆว่าเราผิดพลาดตรงไหน
2. การต่อสายสัญญาณ
                การต่อสายสัญญาณให้พิจารณ พอร์ต หรือช่องทางที่จะต่อตามภาพ ดังนี้

  • วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
             พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้
  •  พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
               เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
    • พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา)
    • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น
    • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก
  •  พอร์ตขนาน (Pararell Port)
             หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
    • พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต)
    • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น
    • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย
    • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
  • พอร์ตยูเอสบี (USB Port)
              พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
    • คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
    • เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
    • พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
    • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
    • เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
    • การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่
  • พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
             ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ดนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพง ไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดยพอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่น ช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊กสีเขียว ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊กแต่ละตัว แต่จะมีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน
             เป็นอย่างไรบ้าง สำหรับส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ทางด้านหลังของคอมพิวเตอร์ ไม่ยากเกินที่จะเรียนรู้ว่าพอร์ตไหนเป็นพอร์ตอะไรใช่ไหม อันที่จริงพอร์ตด้านหลังคอมพิวเตอร์ยังมีอีกหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ไม่กล่าวมาอาจจะไม่สำคัญมากนัก เลยขอละไว้


การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง
1. การต่อเครื่องพิมพ์
              ในปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์เนื่องจากจะมีเครื่องพิมพ์ต่อพ่วงด้วยแล้ว อาจมีอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดอื่นอยู่อีก ได้แก่สแกนเนอร์ ดังนั้นการต่อพ่วงเครื่องพิมพ์ มีได้ 2 รูปแบบคือการติดตั้งเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงและต่อผ่านสแกนเนอร์
  •  ติดตั้งเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรง


สายพรินเตอร์ แบบต่อกับพอร์ต Parallel
การต่อสายพรินเตอร์กับพอร์ต USB
              นำสายพรินเตอร์ (Printer Cable) เสียบเข้าขั้วต่อเครื่องพิมพ์และนำปลายอีกด้านหนึ่งเสียบเข้าท้ายพอร์ต Parallel คอมพิวเตอร์  โดยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตมักมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ต่างหาก จึงต้องขั้วต่อไฟเลี้ยงเข้าเครื่องพิมพ์ด้วย
  • การต่อเครื่องพิมพ์ผ่านสแกนเนอร์
             ในกรณีที่มีเครื่องสแกนเนอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้เราไม่สามารถต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง  คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีพอร์ต Parallel มาให้เพียง 1พอร์ต  เท่านั้น  การต่อต้องใช้วิธีต่อสายเคเบิ้ลของสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่พอร์ต Parallel ก่อนหลังจากนั้นจึงใช้สายพรินเตอร์เสียบเข้ากับ คอนเน็คเตอร์แบบ 25 Pin ที่ท้ายสแกนเนอร์อีกต่อหนึ่ง  ส่วนอีกปลายหนึ่งซึ่งเป็นหัว ต่อแบบ D 36 Pin จึงนำไปต่อเข้ากับขั้วคอนเน็คเตอร์ของเครื่องพิมพ์  ในกรณีที่เป็นเครื่องพิมพ์แบบ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงกว่าพอร์ต Parallel โดยจะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงถึง 60 Mbps  โดยมีการเชื่อมเป็นแบบ Daisy Chain คือสามารถเชื่อมต่อกันไปเป็นทอดๆได้ถึง 127 ชิ้น ซึ่งโดยปกติคอมพิวเตอร์จะมีพอร์ต USB มาให้ 2 พอร์ต แต่สามารถต่อเพิ่มได้  
              สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรมสำหรับการทำงานของพรินเตอร์หรือเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับพรินเตอร์ได้  ในขั้นตอนนี้  คือขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมไดร์ฟเวอร์พรินเตอร์
2. การติดตั้งใช้งานโมเด็ม
              โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวการในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ จาก เครื่องของเราเข้าสู่อิเตอร์เน็ตเข้าสายโทรศัพท์ผ่านผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) โมเด็มมีอยู่ 2 แบบ    


Internal Modem
External Modem
  • โมเด็มแบบภายใน (Internal Modem)
              เป็นโมเด็มแบบที่เป็นการ์ดติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ใช้เสียบกับสล็อตบนเมนบอร์ดได้ทันที  ในปัจจุบันโมเด็มที่มีจำหน่ายมักเป็นแบบ PCI และส่วน ใหญ่จะมีความเร็ว56 Kbps ตามมาตรฐาน V.9
              โมเด็มรุ่นใหม่จะเป็นแบบ Plug and Play ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วระบบปฏิบัติ การจะรู้จักและไดรเวอร์จะติดตั้งให้เอง โดยจะทำงานผ่านพอร์ตอนุกรม (Serial) ในตัวเอง  ดังนั้น  ถ้าโมเด็มรุ่นเก่าจะต้องปิดการทำงานของพอร์ตอนุกรมเลขที่เดียวกันเสียก่อน  โดยการกำหนดจากไบออสเครื่อง
              ข้อดีของโมเด็มประเภทนี้ก็คือ มีราคาถูก ไม่เปลืองเนื้อที่บนโต๊ะทำงาน ไม่ต้องต่อสายไฟให้เกะกะ และไม่ต้องมีอะแดปเตอร์คอยต่อไฟเลี้ยง
ขั้วต่อ
หน้าที่
1. Line
สำหรับใช้เสียบสายสัญญาณโทรศัพท์ขั้วต่อสัญญาณโทรศัพท์บ้าน
2. Phone
สำหรับใช้เสียบสายสัญญาณโทรศัพท์เข้ากับเครื่องรับโทรศัพท์
3. MIC
เสียบต่อไมโครโฟนสำหรับการใช้เสียงในอินเตอร์เน็ต
4. SPK
ใช้เสียบต่อลำโพงเพื่อฟังเสียง
  • โมเด็มแบบภายนอก (External Modem)
              เป็นโมเด็มที่ใช้ติดตั้งภายนอก  ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีกสองชนิดคือแบบ พอร์ต  Serial และแบบพอร์ต USB (Universal serial bus) ซึ่งโมเด็มแบบนี้  จะประกอบไปด้วยกล่องพลาสติกภายในบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส  อะแดปเตอร์จ่ายไฟเลี้ยงโมเด็มและสายเคเบิ้ล  ส่วนโมเด็มแบบพอร์ต USB จะไม่มีอะแดปเตอร์จ่ายไฟ  เนื่องจากที่พอร์ต USB จะมีวงจรจ่ายไฟเลี้ยงให้กับสายสัญญาณอยู่แล้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากขึ้น รวมทั้งยังมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงกว่า แบบพอร์ต Serial  อีกด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน 

3.1 ท่านั่งที่ถูกสุขลักษณะ





10ข้อปฏิบัติในการถนอมสายตาหน้าจอคอมพิวเตอร์

     1. ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีการกระจายรังสีต่ำเพื่อถนอมสายตา
เราสามารถทดสอบง่าย ๆ ได้โดยลองปิดสวิตซ์จอภาพ แล้วเอามือหรือแขนไปจ่อไว้ใกล้ ๆ จอาภาพ
จอที่มีการกระจายรังสีต่ำจะแทบไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตตามขนที่ผิว คือไม่รู้สึกขนลุก
     2. ปรับแสงและความคมชัดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา รวมไปถึงปรับความสว่างในที่ทำงาน ลดแสงสะท้อนรบกวน เพราะดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อดวงตาได้ง่ายและรวดเร็ว
จะรู้สึกว่ามีอาการปวดร้าวดวงตาเร็วและแสบตารุนแรงมากขึ้น
     3. ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากดวงตาประมาณ 18–24 นิ้ว
(
วัดง่าย ๆ ประมาณหนึ่งช่วงแขนและปรับให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15–20 องศาค่ะ)
ถ้าระยะห่าวของจอภาพกับดวงตาไม่สัมพันธ์กันจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้ง่าย
     4. ใช้แผ่นกรองรังสีติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ อาจจะช่วยได้ไม่มาก(ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า)
แต่ก็น่าจะช่วยลดแสงจ้าจากจอคอมพิวเตอร์ลงได้
     5. ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ ที่ต้องทำก็เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากขึ้น
     6. หยุดพักหรือเปลี่ยนตารางเวลาทำงานใหม่ เพื่อให้สายตาได้พัก 15นาที ทุก ๆ 2ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
     7. ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ วางไว้บนเปลือกตา และหลับตาพักซัก 2–3 นาที หรืออาจจะปิดไฟนอนพักซักครู่
     8. ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์อาจจะเกิดอาการตาแห้งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยได้
     9. ควรกระพริบตาให้บ่อยครั้งกว่าปกติ ภายใน 10วินาที พยายามกระพริบตาซัก 1–2ครั้งจะช่วยคลายความอ่อนล้าของสายตาได้
     10. ตรวจสุขภาพตาบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ และผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปควรไปตรวจเช็คสุขภาพดวงต